วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ปัญหาขยะมูลฝอยบนเกาะพิทักษ์


เนื่องจากเกาะพิทักษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่หนึ่งในจังหวัดชุมพร มีหมู่บ้านชาวประมงที่เป็นโฮมสเตย์ เหมาะแก่การพักผ่อนในวันหยุด ทำให้มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวเป็นจำนวนมากผลกระทบที่จะตามมาก็คือ ปัญหาขยะมูลฝอย นั้นเอง ทำให้กลุ่มของเราได้คิดว่าอยากจะทำเรื่องปัญหาขยะมูลฝอยบนเกาะบนเกาะพิทักษ์ และก็ได้ดำเนินการไปศึกษาปัญหาขยะบนเกาะพิทักษ์ พบว่ามีจำนวนขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมากบริเวณหมู่บ้านบนเกาะพิทักษ์ และบริเวณชายฝั่งบางส่วนที่อยู่ใกล้หมู่บ้านบนเกาะพิทักษ์ ทำให้บริเวณพื้นที่เหล่านั้นสกปรก โสโครก และการมีขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก ยังส่งกลิ่นเหม็น และทำลายระบบนิเวศด้วย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาปัญหาขยะมูลฝอย บนเกาะพิทักษ์
2. เพื่อค้นหาแนวทาง และวิธีแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย
3. เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบของขยะมูลฝอยที่มีต่อเกาะพิทักษ์
4. เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเกาะพิทักษ์ในการกำจัดขยะมูลฝอย
5. เพื่อเสาะหาแนวทางการกำจัดขยะมูลฝอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
6. เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อฟื้นฟู และรักษาภาพแวดล้อมจากปัญหาขยะมูลฝอย

ขอบเขตการศึกษา
ชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์ หมู่ 14 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร วันที่ 15-17 กรกฎาคม พ.ศ.2554
รูปที่ 1 แผนที่ดาวเทียมเกาะพิทักษ์

วิธีการดำเนินการ
1. คณะผู้จัดทำได้ประชุม และได้เสนอโครงงานของแต่ละคนที่ตนสนใจ แล้วนำมาเสนอที่ประชุมกลุ่ม เพื่อเลือกโครงงานที่น่าสนใจที่สุด และต้องการจะศึกษา
2. เมื่อได้โครงงานที่คณะผู้จัดทำสนใจแล้ว ก็คือ ปัญหาขยะมูลฝอยบนเกาะพิทักษ์ ทางคณะผู้จัดทำก็ได้ประชุม และดำเนินการโดยการเขียนวัตถุประสงค์ แล้วเสนอให้กับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. คณะผู้จัดทำได้ลงพื้นที่ไปสำรวจปัญหาขยะมูลฝอยบนเกาะพิทักษ์ ที่จังหวัดชุมพร
5. คณะผู้จัดทำได้ไปสำรวจบ้านของชาวบ้านบนเกาะ แล้วก็ได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับปัญหาขยะมูลฝอยในบ้านดังกล่าว แล้วจดบันทึกข้อมูล ถ่ายรูปขยะมูลฝอย รวมทั้งถ่ายวิดีโอ
6. คณะผู้จัดทำได้ทำการเดินสำรวจบริเวณชายฝั่งใกล้ๆกับหมู่บ้านที่เป็นโขดหิน และได้ถ่ายรูปบริเวณที่มีขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก
7. คณะผู้จัดทำทั้ง 3 คน แบ่งกันรวบรวมข้อมูล รูปเล่มโครงงาน การทำบล็อก และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
8. นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

ผลการศึกษา
ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญของชาวบ้านบนเกาะพิทักษ์ เนื่องจากในอดีตชาวบ้านบนเกาะพิทักษ์มักจะไม่ค่อยสนใจให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะ ที่จะต้องมีการแยกขยะแต่ละประเภท เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก หรือหาวิธีการกำจัดที่ถูกวิธี บ้างก็ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง จึงทำให้บนเกาะพิทักษ์นั้นมีสภาพที่สกปรก และมีปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น
รูปที่ 2 ขยะมูลฝอยบริเวณเเนวชายหาด 
รูปที่ 3 กองขยะมูลฝอยบริเวณใกล้ๆกับหมู่บ้าน
       เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อชาวบ้านบนเกาะพิทักษ์ และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด  เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ และขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ เมื่อเราทราบว่าขยะรีไซเคิลมีชนิดใดบ้าง ก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เช่น พวกขวด ก็แยกเป็นขวดพลาสติก เก็บเอาไปชั่งกิโลขาย และขวดกระเบื้อง ชาวบ้านเอาไปให้คนบนฝั่ง โดยไม่คิดเงิน ให้เค้ามารับซื้อเค้าก็ไม่มา เพราะไม่คุ้มค่ากับเดินทาง
รูปที่ 4 ขยะจำพวกขวดพลาสติก
รูปที่ 5 ขยะจำพวกขวดกระเบื้อง 
ในส่วนขยะเปียก พวกเศษผัก ผลไม้ หมัก ก็เอาไปหมักกับ EM อย่างน้อย 15 วัน ทำเป็นถังๆ เพื่อเอาไปทำปุ๋ย และสามารถนำไปขายได้ ส่วนขยะมูลฝอยก็เอาไปเผาที่เตาเผา ซึ่งมีลักษณะเป็นตะแกรงก่อด้วยอิฐ หรือเผาในถังน้ำมันเก่าก็มี แต่การเผาที่เกิดขึ้น ก็อาจทำให้ชาวบ้านกลัวเรื่องปัญหามลพิษ แต่มันก็จำเป็นจริง เพราะไม่มีหน่วยงานใดมาดูแล เช่น อบต. เป็นต้น ก็ดีกว่าให้ขยะเยอะ หากเอาไปฝั่งกลบ 40-50 ปี ขุดขึ้นมาก็ยังไม่ย่อยสลาย
รูปที่ 6 เตาเผาขยะ
รูปที่ 7 ขยะมูลฝอย






ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะให้ถูกวิธี และปัญหาต่างๆเกี่ยวกับขยะ
2. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมบนเกาะพิทักษ์ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่
3. เพื่อฝึกฝนให้เยาวชนได้มีจิตสำนึก และรู้จักการพัฒนาและการจัดการปัญหาขยะ
4. ได้เรียนรู้ และเข้าใจถึงผลกระทบที่จะตามมาจากปัญหาขยะ
5. เป็นการสร้างรายได้ให้ประชาชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
6. เพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่ม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
สรุปผล
การคัดแยกขยะก่อนทิ้งของคนบนเกาะพิทักษ์ จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น  ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท และนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้  เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป
ข้อเสนอแนะ
         ทางหน่วยงานราชการองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. ควรเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ให้หาวิธีการกำจัดที่ถูกวิธี เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ต่อไป
รูปที่ 8 ถังใส่ขยะแห้ง
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร.ณรงค์  พลีรักษ์
ผู้จัดทำ
นาย วัชระ            ยังให้ผล             รหัสนิสิต 54170023
นาย ดุลยวัตร        ศรีติสาร              รหัสนิสิต 54170131
นาย วราพงษ์        เกียรติเจริญศิริ      รหัสนิสิต 54170223